เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว มีราษฎรชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาจับจองที่ทำการเกษตร เผาถางป่าเพื่อ ทำนา – ทำไร่ และดำรงชีวิตอยู่ ตามปกติ และอยู่มาวันหนึ่ง ชาวนา ได้นำโคกระบือ ไปเลี้ยงที่ทุ่งนาตามปกติ ฝูงวัวควายได้เดินไปในลำคลอง เพื่อกินน้ำเจ้าของโคกระบือได้เดินตามลงไปเห็นน้ำที่ริมฝั่งนั้นเดือดอยู่จึงได้เอามือไปสัมผัสรู้สึกร้อนมาก ในวันต่อมาชาวนาได้เอาผักบุ้งไปใส่รู้สึกว่าผักบุ้งยุบและสุกวันต่อมาชาวบ้านได้นำไข่ไปใส่น้ำที่เดือดนั้นอีก ปรากฏว่าไข่นั้นสุกรับประทานได้ชาวบ้านได้ป่าวร้องไปทั่วหมู่บ้าน จึงได้พร้อมใจกันจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า ( หมู่บ้านน้ำร้อน)และยังมีสัญลักษณ์ อีกอย่างหนึ่ง คือ หลุมฆ้องทองคำ เนื่องจากสมัยนั้นหัวหน้าหมู่บ้านได้ฝันว่าหลุมฆ้องทองคำอยู่ใกล้บ่อน้ำร้อนที่กำลังเดือดห่างจากคลองประมาณ 8 เมตร ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งประมาณ 9-10 คน ขุดลงไปประมาณ 4 เมตร ปรากฏว่าเจอฆ้องทองคำ บรรดาชาวบ้านต่างคนต่างจะนำเอาไปทำสร้อยคอ และสร้อยแขนให้ภรรยา บางคนจะยกเข้าไปไว้ที่วัด ตกลงกันไม่ได้ ผลสุดท้ายฆ้องทองคำนั้นสำแดงฤทธิ์หมุนจากพื้นดินลงสู่พื้นคลองน้ำร้อนทันทีและบันดาลให้เกิดน้ำท่วมขึ้นทันทีด้วยอิทธิฤทธิ์อันศักดิ์สิทธิทำให้ผู้ที่ร่วมกันขุดนั้น ลอยบกได้โดยไม่มีน้ำแม้แต่นิดเดียว จึงได้ชื่อว่า “ บ่อน้ำร้อน ฆ้องทองคำ ” ตำบลน้ำร้อนสมัยนั้นมี 4 หมู่ คือ 1-4 ซึ่งขึ้นอยู่กับ ตำบลนาป่า และต่อมาก็เปลี่ยนมาเป็น ตำบลตะเบาะ และต่อมาก็เปลี่ยนจาก ตำบลตะเบาะ เป็นตำบลน้ำร้อน ประมาณปี 2515 จนถึงปัจจุบันนี้ตำบลน้ำร้อนก็ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน
ประวัติความเป็นมาของศาลท่านขุนวรเนตรและศาลเจ้าปู่น้ำร้อน(ประเพณีพื้นถิ่นบ้านโมคลา) เดิมคือร่างทรงท่านหนึ่งชื่อ นางกองสิน จักคำเต็ม อยู่หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ปัจจุบันเป็นร่างทรงของเจ้าพ่อท่านขุนวรเนตรด้วย) หลายปีมาแล้วร่างทรงท่านนี้ฝันว่า มีบุรุษท่านหนึ่งแต่งกายคล้ายทหารโบราณ เดินทางมาจากทางทิศใต้ ท่านชื่อท่านขุนวรเนตรบอกว่าเป็นทหารองครักษ์มาจากในวังหลวง ท่านปลดเกษียณแล้วและได้ออกเดินทางท่องเที่ยวมา เพื่อตามหาคนรักแต่ชาติปางก่อนซึ่งแน่ใจว่าอยู่บริเวณนี้(ไม่ปรากฏ พ.ศ.)
เมื่อมาถึงบ่อน้ำร้อนได้มาพบเจ้าปู่น้ำร้อนซึ่งดูแลรักษาลูกหลานอยู่ ณ บริเวณนี้ เกิดความเคารพรักศรัทรานับถือเจ้าปู่น้ำร้อนขึ้น จึงได้ขอพำนักอยู่ด้วยจะได้ช่วยเจ้าปู่ย้ำร้อนดูแลลูกหลาน ซึ่งเจ้าปู่น้ำร้อนก็อนุญาตให้ท่านขุนวรเนตรอยู่ได้เมื่อท่านชอบบ่อน้ำร้อนและบ้านน้ำร้อน บริวารเจ้าปู่น้ำร้อนก็ยินยอมให้อยู่ได้
เจ้าพ่อขุนวรเนตร ท่านมีบริวารคู่ใจติดตามท่านมา 2 คน คือ ท่านขุนไกร เป็นบริวารมือขวา และท่านขุนวรรักษ์ เป็นบริวารมือซ้าย อุปนิสัยของท่านชอบทหารเพื่อท่านเป็นทหาร ชอบราชการ ชอบกีฬา (ร่างทรงของท่านจะแต่งกายคล้ายชุดทหารหรือข้าราชการเสมอ)
ความสำคัญที่มีข่าวให้ได้ยินอยู่หลายครั้ง เมื่อมีผู้นำมาบนบานสานกล่าวให้ลูกหลานเกี่ยวกับจะไปทำงานราชการต่างๆ หรือเกี่ยวกับกิจการบางอย่างนั้น มักจะได้กำลังใจและได้ผลสำเร็จในสิ่งอธิฐานอยู่บ่อยครั้ง หรือลูกหลานออกไปแข่งกีฬานอกตำบล เมื่อมาบนบานเจ้าพ่อแล้วมักจะเป็นผลสำเร็จเป็นส่วนมาก คนที่ผ่านไปมาหรือคนต่างถิ่นแวะเวียนกราบไหว้เจ้าพ่อมักจะโชคดีเสมอ
ศาลเจ้าปู่น้ำร้อนจะอยู่หลังรูปปั้น รูปปั้นคือพ่อขุนวรเนตรลักษณะยืน เชื่อว่าเป็นการรอรับผู้มากราบไหว้ขอพร ช่วยเจ้าปู่และเจ้าพ่อต่างๆดูแลด้วย บริวารของเจ้าปู่น้ำร้อนได้แก่ เจ้าพ่อมหาดไท เจ้าพ่อก้อนทอง เจ้าพ่อฟ้าฤกษ์ เจ้าแม่พวงทอง และจ่าเลี้ยงควาย เป็นต้น
แต่เดิมไม่มีศาลเจ้า ชาวบ้านทำการบวงสรวงประจำปีให้ร่างทรงทำพิธีกรรมใต้ร่มไม่มะค่า เพื่อทำนายฟ้าฝนและโชคชะตาต่างๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 ชาวตำบลน้ำร้อนช่วยกันปลูกศาลไม้ จนเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2540 บริษัทซัยโจเดนกิอินเตอร์เนชั่นแนล มาสร้างอุโบสถวัดจอมศรี เกิดความศรัทธามองเห็นศาลไม้เก่าๆ ผุพังมากแล้ว ได้สอบถามคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านว่ามีการทำการบวงสรวงทุกปีหรือ? เมื่อได้รับคำตอบว่าทุกๆ วันพฤหัสบดีแรกของเดือน 6 ของทุกปีจะมีการบวงสรวงชาวบ้านถือเป็นวันปีใหม่ด้วย บริษัทซัยโจเดนกิอินเตอร์เนชั่นแนลจึงได้ขออนุญาตเพื่อดำเนินการก่อสร้างศาลใหม่ให้ดูแข็งแรงทนทานและสวยงาม
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนและผู้ศรัทราตั้งงบประมาณจัดทำรูปปั้นตามจินตนาการบอกเล่าในความฝันของชาวบ้านขึ้น ประดิษฐานอยู่ที่สาลในปัจจุบัน เดิมชื่อศาลเจ้าปู่น้ำร้อน เมื่อเสร็จแล้วในงานบวงสรวงประจำปี ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2543 ทุกๆฝ่ายลงความเห็นให้ใช้ชื่อใหม่ว่า ศาลท่านขุนวรเนตร ตามรูปปั้นตั้งแต่นั้นเรื่อยมา สถานที่ตั้งปัจจุบันอยู่หน้าจัดจอมศรี หมู่ที่ 6 บ้านโมคลา ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
เครื่องบวงสรวงเจ้าพ่อขุนวรเนตร ได้แก่
1. บายศรี ขันโตก 1 ชุด (ซ้าย-ขวา)
2. เหล้า 1 ขวด
3. บุหรี่ 1 ซอง
4. เงิน 44 บาท
5. ดอกกุหลาบสีแดง 9 ดอก
6. มาลัย 9 พวง
7. ข้าวคลุกกะปิ
8. หมู เป็ด ไก่ ตามความเหมาะสม
เจ้าปู่น้ำร้อน และบริวาร ได้แก่
1. ขัน 5 ขัน 8 (แต่งชุดขาว)
2. เหล้าขาว 1 ขวด
3. บุหรี่ 1 ซอง
4. แป้งหอม 1 ขวด
5. เงิน 24 บาท
6. ไก่ หมู ตามสมควร
ที่ตั้งและอาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ตั้งอยู่ เลขที่ 39/1 หมู่ 9 ตำบลน้ำร้อน อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ประมาณ 15 กิโลเมตร พื้นที่ประมาณ 46,767 ไร่ หรือ 74.83 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา พื้นดินเป็นดินร่วน แหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่จึงใช้น้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติในการทำการเกษตร และมีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบจำนวนทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | ตำบลนาป่า |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | ตำบลนายม |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | ตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | ตำบลชอนไพร และตำบลบ้านโตก |
เนื้อที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน มีพื้นที่ประมาณ 24,701 ไร่ หรือ 39.52 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา โดยที่ราบลุ่มจะเป็นพื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยของประชากรและพื้นที่ทำการเกษตร มีที่ดอนสำหรับอาศัยเป็นเพียงบางส่วน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ประชากร | | | | | |
| | จำนวนประชากร (คน) | |
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนครัวเรือน |
1 | บุฉนวน | 246 | 282 | 520 | 171 |
2 | น้ำร้อนเหนือ | 379 | 413 | 787 | 340 |
3 | น้ำร้อนใต้ | 404 | 402 | 827 | 289 |
4 | ทุ่งหินปูน | 460 | 453 | 923 | 312 |
5 | หนองตาวงศ์ | 322 | 344 | 663 | 222 |
6 | โมคลา | 331 | 383 | 725 | 254 |
7 | บ่อน้ำร้อน | 310 | 349 | 675 | 227 |
8 | ซำเรียง | 220 | 204 | 425 | 144 |
9 | น้ำร้อนศรีทอง | 237 | 237 | 478 | 131 |
10 | บุสง่า | 335 | 348 | 681 | 169 |
11 | ซำบอน | 240 | 247 | 483 | 150 |
| รวม | 3,484 | 3,665 | 7,149 | 2,409 |
ข้อมูล เดือน กรกฎาคม ปี 2558